เทคนิค การเล่นกีฬา
วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
ทักษะในการเล่นวอลเล่ย์บอล
ทักษะในการเล่นวอลเล่ย์บอล
ทักษะในการเล่นวอลเล่ย์บอล
การเล่นกีฬาวอลเลย์บอลมีทักษะส่วนบุคคลพื้นฐานที่จำเป็นต้องใช้สำหรับการเล่นหลายประเภท ซึ่งผู้เริ่มเล่นวอลเลย์บอลจำเป็นต้องเริ่มฝึกในพื้นฐานเหล่านี้ สำหรับในตอนนี้จะได้นำเสนอทักษะต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการเล่นวอลเลย์บอลในภาพรวมทุกทักษะ เพื่อที่จะได้ทราบว่าแต่ละทักษะมีวิธีการและความสำคัญอย่างไร
รูปแบบทักษะพื้นฐาน ซึ่งทักษะทั้งหมดจำเป็นต้องใช้ในการแข่งขัน ในการฝึกนอกจากผู้เล่นจะสามารถปฏิบัติทักษะพื้นฐานทั้งหมดได้แล้วยังต้องสามารถเชื่อมโยงการเล่นในแต่ละทักษะได้ด้วย สำหรับการเล่นเป็นทีมนั้นหากผู้เล่นไม่มีความชำนาญในแต่ละทักษะพื้นฐานที่เกี่ยวกับการเล่นวอลเลย์บอลก็จะทำให้การเล่นเป็นทีมทำได้ยาก
ทักษะที1 การอันเดอร์วอลเล่ย์บอล
ลักษณะท่าทางเตรียมเล่นบอลของผู้เล่นมีลักษณะดังนี้
1. หงายมือทั้งสองข้าง
2. เอามือหนึ่งไปวางช้อนทับอีกมือหนึ่ง
3.รวบมือให้นิ้วหัวแม่มือชิดติดกัน มัด
4. ใช้มือใดมือหนึ่งกำหมัด
5. ใช้อีกมือหนึ่งโอบหมัด
6. ให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองชิดติดกัน .กำมือ
7.กำมือทั้งสองข้าง
8.นำมือทั้งสองข้างมาชิดกัน
9.ให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างเสมอกัน
ท่าการอันเดอร์
1. ยืนเท้าใดเท้าหนึ่งอยู่ข้างหน้าห่างกัน ประมาณ 1 ช่วงไหล่
2 ย่อเข่าลงให้หัวเข่าเลยปลายเท้าเล็กน้อยก้มลำตัวให้หัวไหล่อยู่ในแนวระดับของเข่า
3 ยกส้นเท้าขึ้นเล็กน้อย น้ำหนักตัวอยู่ที่ปลายเท้าทั้งสองข้าง ตรงบริเวณโคนหัวแม่เท้า ใต้ฝ่าเท้า
4 จับมือในท่าที่ถูกต้อง แขนทั้งสองเหยียดตึง ตามองที่ลูกบอล
ทักษะที่2 การส่ง ( เซ็ท )
การยกมือทั้งสองในการเซ็ต
1. ยกมือทั้งสองขึ้นประมาณหน้าผาก มือทั้งสองห่างจากใบหน้าประมาณ 1 กำมือ ( 10 เซนติเมตร)
2. กางนิ้วออก กางข้อศอกออกเล็กน้อย ข้อศอกอยู่ระดับเสมอไหล่หรือสูงกว่าเล็กน้อย กางนิ้วออกนิ้วงอเป็น 3เคลื่อนที่ไปที่ลูกบอลจะตกให้ลูกบอลอยู่เหนือศีรษะบริเวณหน้าผาก
4. ย่อเข่า ยกมือให้จุดสัมผัสบอลกับนิ้วมือห่างจากหน้าผาก 20 ซ.ม
ทักษะที 3การตบลูกวอลเลย์บอล
1. การวิ่งเคลื่อนที่เข้าหาจุด
2. เตรียมกระโดดห่างจากจุดที่ลูกบอลตกประมาณ 1 ฟุต
3. กระโดดเหวี่ยงแขนทั้งสองไปข้างหลัง น้ำหนักตัวไปข้างหลัง เข่างอ
4. เหวี่ยงแขนทั้งสองขึ้นข้างหน้า พร้อมกับถีบเท้าทั้งสองกระโดดลอยตัว ขึ้นตรง ๆ
5. แขนขวาเงื้อไปข้างหลัง งอแขนเล็กน้อย แบมือ ตามองดูบอลตลอดเวลา
6. จังหวะที่จะตบ ให้กดไหล่ซ้ายลง พร้อมกับตบลูกบอลให้แรงส่งจากข้อมือ ศอก ไหล่ และลำตัว
7. ลงสู่พื้นด้วยเท้าทั้งสองในลักษณะย่อตัว
ทักษะที่4 การเสิร์ฟลูกวอลเล่ย์บอล
การเสิร์ฟเป็นการรุกวิธีหนึ่งการแข่งขันจะเริ่มจากการเสิร์ฟเสมอ ลูกเสิร์ฟที่มีพลังและมีประสิทธิภาพ สามารถ ข่มคู่แข่งขันและเชิงความเป็นผู้คุมเกมการเล่นได้ด้วย จุดประสงค์ของการเสิร์ฟอยู่ที่การทำคะแนนโดยตรงทำลายยุทธวิธีการรุกของฝ่ายตรงข้ามลดภาระการตั้งรับของฝ่ายตน สร้างโอกาสที่ได้เปรียบในการตอบโต้ลูกเสิร์ฟที่ดีสามารถทำความหนักใจให้ฝ่ายตรงข้ามอันเป็นการทำลายขวัญและจิตใจของคู่แข่งขันทำให้เกิดความรวนเร ขาดความสัมพันธ์ในการรุกได้ทางหนึ่งด้วย ผู้เล่นจึงควรหาความชำนาญ โดยการฝึกหัดเสิร์ฟด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งที่เหมาะสมและดีที่สุด หรือตามความถนัดของผู้เล่นแต่ละคน
หลักสำคัญในการเสิร์ฟ มีดังนี้ ท่าทางในการเสิร์ฟ
1. ตำแหน่งการยืน
2. การโยนลูกบอล
3. การเหวี่ยงแขน
4. จุดที่มือกระทบลูกบอล ท่าทางในการเสิร์ฟ ก่อนที่ผู้เล่นจะเริ่มทำการเสิร์ฟต้องรู้ตัวเองว่าตนเองถนัดเสิร์ฟท่าทางแบบใดตามที่ได้ฝึกฝนมา ถ้าเคยฝึกฝน หรือถนัดเสิร์ฟลูกท่าทางแบบใดต้องเสิร์ฟลูกตามแบบนั้นตลอดการแข่งขัน เพราการเปลี่ยนท่าทางการเสิร์ฟบ่อย ๆ ย่อมทำให้ประสิทธิภาพการเสิร์ฟเสียไป ตำแหน่งการยืน ก่อนที่จะเริ่มเสิร์ฟทุกครั้ง ผู้เล่นต้องยืนตามจุดหรือตำแหน่งที่เคยฝึกซ้อมมา มีผู้เล่นจำนวนมากที่ขาดความสังเกตในเรื่องนี้พอจับลูกบอลเข้ามายืนในเขตเสิร์ฟก็เสิร์ฟลูกไปตามใจตนเอง การยืนห่างจากเส้นหลังใกล้หรือไกลเพียงใด ยืนห่างจากมุมสนามมากน้อยเพียงใด ก็ต้องยืนที่จุดนั้นตลอดทุกครั้งที่ทำการเสิร์ฟ เพราะจะทำให้ความแรงความเร็วและทิศทางของลูกบอลเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการและทำให้การเสิร์ฟมีผลเสียน้อยด้วย การโยนลูกบอล ความสูงขณะโยนลูกบอลขึ้นต้องสม่ำเสมอ เช่น ความสูงจากมือที่โยน ประมาณ 3 – 4 ช่วงของลูกบอล ก็จะต้องโยนลูกบอลให้มีความสูงเช่นนี้ตลอดไปเพราะการโยนลูกสูงบ้างต่ำบ้าง ทำให้แรงที่ใช้ตีและทิศทางของลูกขาดความแม่นยำ นอกจากนี้การโยนลูกใกล้ตัว ห่างตัวบ้าง เอียงไปซ้ายบ้างขวาบ้าง ก็ย่อมมีผลต่อการตีลูกบอลด้วย การเหวี่ยงแขน การเสิร์ฟให้ลูกบอลพุ่งไปตามทิศทางและมีความแรงตามที่ต้องการขึ้นอยู่กับการเหวี่ยงแขนด้วย ผู้เสิร์ฟเคยเหวี่ยงแขนในลักษณะใด มือห่างจากลูกบอลเท่าไรจะต้องทำอย่างนั้นทุกครั้งที่เสิร์ฟ จึงต้องฝึกฝนการเหวี่ยงแขนให้คล้ายกับเครื่องจักรที่มีจังหวะการทำงานอย่างสม่ำเสมอ จุดที่มือกระทบลูกบอล ลักษณะของมือและจุดที่มือกระทบลูกบอลต้องเหมือนกันทุกครั้งที่ตีลูกบอลในท่านั้น ๆ ด้วย เช่น การแบมือตีด้านหลังตรงส่วนกึ่งกลางของลูกบอล ก็ ต้องทำในลักษณะเช่นนี้ตลอดทุกลูกที่เสิร์ฟ เพราะการออกแรงและจุดที่ตีลูกบอลแตกต่างกันก็ยอมทำให้ทิศทางของลูกบอลที่พุ่งออกไปแตกต่างกันด้วย
ลักษณะของการเสิร์ฟ การเสิร์ฟโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ
1. การเสิร์ฟลูกมือล่าง
2. การเสิร์ฟลูกมือบน
ทักษะที5.การสกัดกั้น ( ป้องกันการตบ )
1. ยืนแยกเท้าออกประมาณ 1 ช่วงไหล่
2. มือทั้งสองยกขึ้นกางฝ่ามือออก
3. งอเข่าเล็กน้อย
4. ศีรษะตั้งตรงมองไปข้างหน้า 5. กระโดดขึ้นเพื่อสกัดกั้นลูกตบของฝ่ายตรงข้าม
https://wongsakon04.wordpress.com/117-2/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
บทความใหม่กว่า
บทความที่เก่ากว่า
หน้าแรก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น