วันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2560

กีฬายกน้ำหนัก

กติกากีฬายกน้ำหนัก

Image result for การเล่นกีฬายกน้ำหนัก
1. การยกสองท่า
     1.1 สหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ (IWF) รับรองการยกทั้งสองท่าที่จะต้องทำให้สำเร็จตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
      - ท่าสแนตช์
      - ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก
     1.2 การยกทั้งสองท่าดังกล่าวข้างต้น ต้องยกโดยใช้มือทั้งสองข้าง
     1.3 การยกแต่ละท่า กำหนดให้ยกได้ไม่เกินสามครั้ง
2. ผู้เข้าแข่งขัน
      2.1 การแข่งขันยกน้ำหนักจัดขึ้นสำหรับผู้ชายและผู้หญิง นักกีฬาสามารถเข้าแข่งขันตามรุ่นที่ กำหนดอยู่ในกติกา โดยใช้น้ำหนักตัวเป็นเกณฑ์
      2.2 ในทางปฏิบัติ สหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ กำหนดประเภทตามกลุ่มอายุไว้ กลุ่ม ดังต่อไปนี้
        - รุ่นเยาวชน อายุไม่เกิน 20 ปี
        - รุ่นทั่วไป
การเคลื่อนไหวในการยกน้ำหนักทั้งสองท่า
1. ท่าสแนตช์
      1.1 คานยกต้องวางอยู่ในแนวราบตรงหน้าแข้งของนักยกน้ำหนัก การจับคานยกต้องจับโดยการคว่ำฝ่ามือลงแล้วดึงขึ้นจากพื้นในจังหวะเดียว ให้แขนทั้งสองเหยียดตรงสุดอยู่เหนือศีรษะ ในขณะที่ขาทั้งสองข้างแยกออกจากกันหรืองอเข่าย่อตัวลง ในระหว่างการยกอย่างต่อเนื่องนั้น คานยกอาจเคลื่อนที่ผ่านหน้าขาหรือตักก็ได้ และส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายจะสัมผัสพื้นไม่ได้นอกจากเท้าทั้งสองข้างเท่านั้น ตำแหน่งสุดท้ายในการยกด้วยท่าสแนตช์นี้ แขนและขาต้องเหยียดตรง ปลายเท้าทั้งสองข้างต้องอยู่ในแนวเดียวกัน ผู้เข้าแข่งขันจะต้องอยู่ในลักษณะนี้จนกว่าผู้ตัดสินจะให้สัญญาณวางคานยกลงบนพื้นได้ การพลิกข้อมือจะกระทำได้ต่อเมื่อคานยกพ้นศีรษะไปแล้วเท่านั้น และนักกีฬาจะจัดท่ายืนใหม่จากท่ายืนแยกขา หรือท่าย่อตัวเพื่อให้เท้าทั้งสองอยู่ในแนวเดียวที่ขนานกับลำตัวและคานยกได้ภายในเวลาไม่จำกัด และผู้ตัดสินต้องให้สัญญาณวางคานยกลงพื้นได้ในทันที เมื่อเห็นว่าทุกส่วนของร่ายกายนิ่ง
2. ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก

         2.1 จังหวะที่ การคลีน คานยกต้องวางอยู่ในแนวราบตรงหน้าแข้งของนักยกน้ำหนัก การจับคานจะคว่ำฝ่ามือลงแล้วดึงคานยกจากพื้นสู่ระดับไหล่ด้วยการเคลื่อนไหวเพียงครั้งเดียวในขณะที่ยืนแยกขา หรืองอเข่าลง ระหว่างการดึงคานยกขึ้นสู่ระดับไหล่นี้ คานยกอาจเคลื่อนที่ผ่านตามหน้าขาหรือตักได้ และคานยกต้องไม่แตะหน้าอกก่อนจะถึงลักษณะสุดท้ายคือ การวางพักคานยกไว้ที่ไหปลาร้าบนหน้าอกเหนือราวนม หรือบนแขนที่งอสุด เท้าทั้งสองกลับไปอยู่ในแนวเดียวกัน ขาทั้งสองเหยียดตรงก่อนที่จะเจิร์ก (คือ การยกน้ำหนักให้แขนทั้งสองเหยียดตรง) นักยกน้ำหนักจะสามารถจัดตำแหน่งให้อยู่ในลักษณะดังกล่าวได้ โดยไม่กำหนดเวลา และต้องวางเท้าทั้งสองให้อยู่ในแนวเดียวกัน โดยขนานกับคานยกและลำตัว

          2.2 จังหวะที่ การเจิร์ก นักยกน้ำหนักงอเข่าลงทั้งสองข้าง แล้วเหยียดขาพร้อมๆ กัน เหยียดแขนตรงเพื่อยกคานยกขึ้นสู่แนวดิ่ง โดยที่แขนทั้งสองเหยียดตรงเต็มที่ นักยกน้ำหนักชักเท้าทั้งสองกลับให้มาอยู่ในแนวเดียวกัน ในขณะที่ขาและแขนทั้งสองยังเหยียดตรงอยู่ แล้วคอยสัญญาณให้วางคานยกลงได้จากผู้ตัดสิน โดยผู้ตัดสินจะส่งสัญญาณให้ลดคานยกลงได้ทันทีที่เห็นว่านักยกน้ำหนักยืนนิ่งปราศจากการเคลื่อนไหว สิ่งที่ควรทราบ - หลังจากยกท่าคลีนแอนด์เจิร์ก และก่อนที่จะยกท่าเจิร์ก นักยกน้ำหนักสามารถตรวจ สอบการจัดตำแหน่งของคานยกได้ แต่การนี้ต้องไม่ทำให้เกิดความสับสน และเข้าใจผิดขึ้นได้ การยอมให้จัดตำแหน่งของคานยก มิได้หมายความว่า ยอมให้นักยกน้ำหนักใช้จังหวะที่สองได้อีกครั้งหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นกรณีใดๆ ก็ตาม แต่ยอมให้นักยกน้ำหนักปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้- กดหรือไม่กดหัวแม่มือได้ตามวิธีที่ถนัด- ลดคานยกลงมาพักไว้ที่ไหล่ทั้งสองข้าง ในกรณีที่คานยกอยู่ในระดับสูงเกินไป ทำให้หายใจไม่ สะดวก หรือทำให้เกิดความเจ็บปวด- เปลี่ยนความกว้างของมือที่จับคานยก
https://sites.google.com/site/31841chotiwan/ktika-kila-yk-na-hnak

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น