วันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2560

กีฬาเทนนิส


1 สนาม (The Court)
สนามต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาว 78 ฟุต (23.77 เมตร) กว้าง 27 ฟุต (8.23 เมตร) และจะต้องแบ่งออกเป็นสองส่วนด้วยตาข่าย (Net) ซึ่งห้อยลงมาจากเชือกขึงตาข่าย (Cord or Metal Cable) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 1/3 นิ้ว (0.8 เซนติเมตร) ปลายเชือกขึงตาข่ายต้องขึงติดกับหัวเสาหรือพาดผ่านเสาสองต้น เสา (Post) ต้องเป็นเสาสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยาวไม่เกิน 6 นิ้ว (15 เซนติเมตร) หรือเป็นเสากลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 6 นิ้ว (15 เซนติเมตร) เสาทั้งสองนี้จะต้องไม่สูงกว่าส่วนบนของเชือกขึงตาข่ายเกิน 1 นิ้ว จุดกึ่งกลางของเสาทั้งสองต้นต้องอยู่ห่างจากสนามข้างละ 3 ฟุต (0.914 เมตร) ความสูงของเสาต้องทำให้ส่วนบนของเชือกขึงตาข่ายอยู่สูงจากพื้นสนาม 3 ฟุต 6 นิ้ว (1.07 เมตร)
ในการแข่งขันประเภทเดี่ยวซึ่งใช้สนามและตาข่ายของประเภทคู่ (ดูกติกาข้อ 34) จะต้องปรับตาข่ายให้สูง 3 ฟุต 6 นิ้ว (1.07 เมตร) โดยเพิ่มเสาขึ้นสองต้น เสาที่เพิ่มนี้เรียกว่า "ไม้ค้ำตาข่าย" (Singles Sticks) เสานี้ต้องเป็นเสาสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยาวไม่เกิน 3 นิ้ว (7.5 เซนติเมตร) หรือเป็นเสากลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 3 นิ้ว (7.5 เซนติเมตร) จุดกึ่งกลางของไม้ค้ำตาข่ายต้องอยู่ห่างจากสนามประเภทเดี่ยวข้างละ 3 ฟุต (0.91 เมตร)
ตาข่ายต้องขึงเต็มปิดช่องระหว่างเสาทั้งต้นให้หมด ตาข่ายต้องมีตาขนาดเล็กพอที่จะไม่ให้ลูกเทนนิสลอดได้ 
 
ข้อ 2 สิ่งติดตั้งถาวร (Permanent Fixtures)
สิ่งติดตั้งถาวรของสนามเทนนิสมิได้หมายถึงตาข่าย เสา ไม้ค้ำตาข่าย เชือกขึงตาข่ายแถบขึงตาข่าย แถบหุ้มตาข่ายเท่านั้น แต่รวมถึงสิ่งที่ใช้กั้นด้านหลังและด้านข้างสนาม อัฒจันทร์เก้าอี้ที่ติดตั้งอยู่กับที่หรือเคลื่อนที่ได้ ซึ่งตั้งไว้รอบสนาม รวมทั้งผู้ที่นั่งอยู่บนสิ่งเหล่านั้น เครื่องติดตั้งอื่นๆ ซึ่งอยู่รอบและเหนือสนาม ผู้ตัดสิน (Umpire) กรรมการเนต (Net-Cord Judge) กรรมการฟุตฟอลต์ (Footfault Judge) ผู้กำกับเส้น (Lonesmen) และเด็กเก็บลูก (Ball Boys) ซึ่งประจำตามหน้าที่อีกด้วย
 
ข้อ 3 ลูกเทนนิส (The Ball)
ผิวนอกของลูกจะต้องกลมเรียบเสมอกันทั้งลูก ลูกต้องมีสีขาวหรือสีเหลือง ถ้ามีรอยต่อจะต้องไม่เป็นตะเข็บ ลูกต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 2 1/2 นิ้ว (6.35 เซนติเมตร) แต่น้อยกว่า 2 5/8 นิ้ว (6.67 เซนติเมตร) มีน้ำหนักมากกว่า 2 ออนซ์ (56.7 กรัม) แต่น้อยกว่า 2 1/16 ออนซ์ (58.5 กรัม) การกระดอนของลูกเมื่อทิ้งลงจากที่สูง 100 นิ้ว (254 เซนติเมตร) บนพื้นคอนกรีตจะต้องกระดอนสูงกว่า 53 นิ้ว (135 เซนติเมตร) แต่ต่ำกว่า 58 นิ้ว (147 เซนติเมตร) 
 
ข้อ 4 ไม้เทนนิส (The Racket)
ไม้เทนนิสที่ไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้จะนำมาใช้แข่งขันภายใต้กติกาของเทนนิสไม่ได้คือ
(1) พื้นที่ส่วนที่ใช้ตีลูกของไม้เทนนิสต้องแบบเรียบประกอบด้วยเอ็นถักเป็นแบบเดียวกันติดกับกรอบ (Frame) และต้องถักแบบสลับหรือมัดติดกันตรงบริเวณที่เอ็นซ้อนกัน การถักต้องสม่ำเสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณตรงกลางของไม้เทนนิส จำนวนเอ็นต้องไม่ถี่น้อยกว่าบริเวณอื่น เอ็นของไม้เทนนิส ต้องไม่มีวัสดุใดๆ 
 
(2) กรอบ (Frame) รวมทั้งด้าม (Handle) ต้องมีความยาวทั้งหมดไม่เกิน 32 นิ้ว (81.28 เซนติเมตร) และกรอบต้องกว้างไม่เกิน 12 1/2 นิ้ว (31.75 เซนติเมตร) บริเวณพื้นที่สำหรับขึงเอ็นต้องมีความยาวไม่เกิน 15 1/2 นิ้ว (39.37 เซนติเมตร) และกว้างไม่เกิน 11 1/2 นิ้ว (29.21 เซนติเมตร)
 
ข้อ 5 ผู้เสิร์ฟและผู้รับ (Server & Receiver)
ผู้เล่นจะต้องอยู่คนละข้างของตาข่าย ผู้เล่นซึ่งเป็นผู้ส่งก่อนเรียกว่า "ผู้เสิร์ฟ" (Server) ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งเรียก "ผู้รับ" (Receiver)
ปัญหาที่ 1 : ผู้เล่นขณะพยายามตีลูก หากล้ำแนวเส้นสมมติที่ลากตรงต่อจากตาข่ายออกไปจะเสียแต้มหรือไม่
 
ข้อ 6 การเลือกแดนและเลือกเสิร์ฟ (Choice of Ends & Service)
การเลือกแดนก็ดี การเลือกสิทธิ์ที่จะเป็นผู้เสิร์ฟหรือผู้รับในเกมแรกก็ดี ให้ชี้ขาดด้วยการเสี่ยง (Toss) ผู้เล่นที่ชนะในการเสี่ยงจะมีสิทธิ์เลือกหรือขอร้องให้คู่ต่อสู้เลือก
 
 
ข้อ 7 การเสิร์ฟ (The Service) 
การเสิร์ฟจะต้องกระทำดังนี้ คือ ก่อนเสิร์ฟผู้เสิร์ฟต้องยืนด้วยเท้าทั้งสองข้างหลังเส้นหลัง (คือให้เส้นหลังอยู่ระหว่างตาข่ายกับผู้เสิร์ฟ) และยืนอยู่ระหว่างเส้นสมมติที่ลากตรงต่อออกไปจากจุดกึ่งกลาง (Center-Mark) และเส้นข้าง 
 
ข้อ 8 ฟุทฟอลท์ (Foot Fault)
(1) ตลอดการเสิร์ฟผู้เสิร์ฟจะต้อง 
ไม่เปลี่ยนจุดยืนด้วยการเดินหรือวิ่ง ผู้เสิร์ฟที่เคลื่อนที่เท้าเพียงเล็กน้อยโดยไม่ทำให้เท้าเคลื่อนจากจุดเดิม จะไม่ถือว่า "เปลี่ยนจุดยืนด้วยการเดินหรือวิ่ง"
 
ข้อ 9 วิธีการเสิร์ฟ (Delivery lf Service)
(1) ในการเสิร์ฟ ผู้เสิร์ฟต้องยืนหลังสนามด้านขวาและซ้ายสลับกันไป เริ่มจากด้านขวาก่อนทุกเกม ถ้ามีการเสิร์ฟผิดด้านโดยไม่มีผู้ทักท้วง แต้มและการเสิร์ฟที่ผ่านไปคงใช้ได้ทั้งหมดแต่เมื่อพบข้อผิดพลาดให้เปลี่ยนไปเสิร์ฟในด้านที่ถูกต้อง
ทันที
 
ข้อ 10 ลูกเสิร์ฟเสีย (Service Fault)
การเสิร์ฟที่ถือว่าเสียคือ
(1) ถ้าผู้เสิร์ฟทำผิดกติกาข้อ 7.8 หรือ 9
(2) ถ้าผู้เสิร์ฟตีลูกอย่างเจตนาแต่ไม่ถูก
 
ข้อ 11 การเสิร์ฟลูกที่สอง (Second Service)
เมื่อเสิร์ฟลูกแรกเสีย ผู้เสิร์ฟจะต้องเสิร์ฟอีกลูกหนึ่งจากหลังสนามด้านเดิมที่เสิร์ฟลูกแรกไปแล้ว ถ้าลูกแรกที่เสิร์ฟเสียนั้นผู้เสิร์ฟยืนผิดด้าน ให้ผู้เสิร์ฟใหม่อีกลูกเดียวจากหลังอีกด้านหนึ่งตามกติกาข้อ 9
 
ข้อ 12 โอกาสที่จะเสิร์ฟ (When to Serve)
ผู้เสิร์ฟจะเสิร์ฟไม่ได้จนกว่าผู้รับพร้อมที่จะรับ หากผู้รับได้พยายามรับลูกต้องถือว่าผู้รับพร้อมที่จะรับลูกแล้ว ถ้าผู้รับแสดงท่าทางว่าตนยังไม่พร้อมที่จะรับลูกผู้รับจะอ้างว่าลูกเสิร์ฟ
 
ข้อ 13 การขานเล็ท (The Let)
ทุกกรณีที่ขานคำว่า "เล็ท" ตามกติกานี้ หรือขานเพื่อหยุดยั้งการเล่นครั้งใดก็ตามให้ตีความหมายดังนี้
(1) เมื่อขานขึ้นเฉพาะการเสิร์ฟลูกนั้นใหม่
(2) เมื่อขานขึ้นในกรณีอื่นๆ ให้เล่นแต้มนั้นใหม่
 
 
ข้อ 14 การขานเล็ทในขณะเสิร์ฟ (The "Let" in Service)
การเสิร์ฟที่ถือว่าเล็ท คือ 
(1) เมื่อลูกที่เสิร์ฟไปสัมผัสตาข่าย แถบขึงตาข่ายหรือแถบหุ้มตาข่าย แล้วตกในสนามที่ถูกต้อง หรือเมื่อลูกที่เสิร์ฟไปสัมผัสตาข่าย แถบขึงตาข่าย แถบหุ้มตาข่ายแล้วสัมผัสร่างกายผู้รับ หรือสิ่งที่ผู้รับสวมหรือถืออยู่ก่อนลูกนั้นสัมผัสพื้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น